literature

Ayutthaya rebeled Bayinnaung

Deviation Actions

Sw-Eden's avatar
By
Published:
426 Views

Literature Text

สงครามไทย-พม่า เมื่ออยุธยาคิดแข็งเมืองต่อบุเรงนอง

แม้ว่าอิเฎลเป็นคนไทย และพยายามเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย อิเฎลก็ยังไม่เข้าใจเรื่องการกระทำของพระมหาจักรพรรดิในหลาย ๆ ข้อ (อาจเรียกพระมหาจักรา) และเหตุการณ์ที่อิเฎลกำลังจะอธิบายต่อไปนี้ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่อิเฎลไม่ เข้าใจ หลังจากที่พระมหาจักรพรรดิถูกจับไปเป็นเชลยที่กรุงหงสาวดี พระองค์ทรงชราภาพมากแล้ว จึงขอบุเรงนองว่าจะออกผนวชและกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์พม่าในสมัยนั้นตั้งแต่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (อาจเรียกว่า มังตรา) ไปจนถึงพระเจ้านันทบุเรง (อาจเรียกว่า นันดาบายิน) สนับสนุนศาสนาพุทธอย่างเป็นที่สุด และแน่นอนว่าบุเรงนอง (อาจเรียกบาเยงนอง หรือ บายินนอง และสามารถเรียกเต็มว่า บุเรงนอง กะยอทินนรธา หรือ บาเยงนอง จอเดงนรธา) อนุญาตให้พระมหาจักรพรรดิออกบวช

อิเฎลสันนิษฐานว่าถ้าใครโกหกบุเรงนอง ผู้นั้นจะพบจุดจบของชีวิตอย่างทันตาเห็น ในกรณีของพระมหาจักรพรรดิอาจมีปัจจัยอื่นคือ พระองค์ทรงชราภาพมากแล้ว ตามที่อิเฎลกล่าวไว้ข้างต้น หลังจากที่พระมหาจักรพรรดิกลับมาถึงอยุธยาในลักษณะของพระสงฆ์ พระมหินทราชาผู้เป็นพระราชโอรสของพระมหาจักรพรรดิและครองเมืองอยุธยาแทนอยู่ นั้นได้ออกปากเชิญชวนให้พระมหาจักรพรรดิกู้เมือง พระมหินทราชาเชิญพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองบัลลังค์อีกครั้ง เมื่อบุเรงนองได้ข่าว เขาได้ส่งกองทัพพม่ามาปราบกรุงศรีอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นกบฏ ล้านช้างหรือลาวยกทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยาตามเคย พระเจ้าเศรษฐาธิราช (อาจเรียก พระเจ้าศรีชิต หรือพระเจ้าชนะสี่ทิศ) สามารถทานกองทัพพม่าไว้ได้ แต่ต้องพ่ายไปเมื่อบุเรงนองลงมือรบด้วยพระองค์เอง ล้านช้างถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแต่ได้ทำผิดคำสัญญา และอย่างที่อิเฎลกล่าวไว้ข้างต้นว่า นี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่พระเจ้าเศรษฐาธิราชสิ้นพระชนต์ในไม่นานต่อมา

หลังจากกองทัพล้านช้างกลับเมือง และพระมหาจักรพรรดิสิ้นพระชนต์ บุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้เพราะเจอฤดูน้ำหลาก เขาจึงแต่งกบฏพระยาจักรีเป็นไส้ศึกหลอกลวงพระมหินทราชา บุเรงนองทำการนี้สำเร็จโดยดี พงศาวดารพม่าฉบับที่อิเฎลอ่านมิได้เขียนว่าพระยาจักรีโดนประหาร แต่ในภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรซึ่งสร้างตามพงศาวดารไทย เขียนว่าพระยาจักรีถูกประหารโดยบุเรงนองเอง

หลังจากกองทัพของพระเจ้าบุเรงนองชนะกรุงศรีอยุธยาในสงครามครั้งที่ 5 นี้ บุเรงนองทำเช่นเดิมกับที่อิเฎลเคยกล่าวไว้ เรื่องตัวประกันและเชลย บุเรงนองจัดให้เจ้าเมืองพิษณุโลก คือพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระบิดาของสมเด็จพระนเรศวร ขึ้นครองเมืองอโยธยาแทน และจับตัวพระมหินทราชากลับเมืองหงสาวดี อิเฎลพบข้อแตกต่างระหว่างพงศาวดารไทยและพงศาวดารพม่า คือ ในพงศาวดารพม่า บุเรงนอง สั่งประหารพระมหินทราชา เพราะถือว่าเคยให้โอกาสพระองค์ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในพงสาวดารไทยกลับเขียนว่า พระมหินทราชา ประชวรหนักและบุเรงนองให้หมอหลวงหลายคนมารักษา แต่ไม่ช่วยชีวิตพระมหินทราชาไว้ไม่ได้ บุเรงนองจึงประหารนายแพทย์ทุกคนในงานนั้น หากให้สวอิเฎลวิเคราะห์ อิเฎลเห็นว่าพงศาวดารพม่าจะเป็นเรื่องจริง บุเรงนองอาจมีข้อนี้เหมือนกับตะเบงชะเวตี้ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองมีนโยบายแตกต่างกันอยู่มาก ตะเบงชะเวตี้ให้โอกาสเจ้าเมืองเมืองเมาะตะมะปกครองต่อตามเดิม แต่เมื่อเมาะตะมะแข็งเมือง เจ้าเมืองก็จะโดยประหาร เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่ตะเบงชะเวตี้ให้เจ้าเมืองแปรปกครองเมืองต่อ และเมื่อเจ้าเมืองแปรคิดแข็งเมือง เจ้าเมืองแปรก็ถูกประหาร
Ayutthaya rebeled to Bayinnaung after Bayinnaung took it.
© 2011 - 2024 Sw-Eden
Comments0
Join the community to add your comment. Already a deviant? Log In