literature

Chiang Kran and Tavoy wars

Deviation Actions

Sw-Eden's avatar
By
Published:
334 Views

Literature Text

ศึกเมืองเชียงกราน และศึกเมืองทวาย เกิดขึ้นจริงหรือไม่

ท่านเคยมีคำถามในใจไหมเมื่อท่านอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ "ศึกเมืองเชียงกราน และศึกเมืองทวาย เกิดขึ้นจริงหรือไม่" อิเฎลอาจไม่รู้จักอุปนิสัยของพระมหาจักรพรรดิดีเท่ากับ นายปรีดี พนมยงค์รู้จัก แต่อิเฎลคิดว่าอิเฎลรู้จักอุปนิสัยของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (อาจเรียกว่า มังตรา) ดีพอที่จะอธิบายทั้งสองเรื่องนี้ได้

อิเฎลสนใจสองเหตุการณ์นี้คือ ศึกเมืองเชียงกราน และ ศึกเมืองทวาย อิเฎลไม่พบศึกเมืองเชียงกราน ในพงศาวดารพม่า เพราะเป็นความผิดพลาดที่ทหารพม่าถล่ำเข้ามาในดินแดนสยาม ศึกเมืองเชียงกรานถูกบันทึกในพงศาวดารกรุงสยาม ว่าเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ตรงกันข้าม พงศาวดารกรุงสยามมิได้บันทึก ศึกเมืองทวาย ไว้ แต่อิเฎลพบมันในพงศาวดารพม่า ศึกเมืองทวายเกิดจาก พระมหาจักรพรรดิต้องการแสดงแสงยานุภาพเมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นธรรมดาของกษัตริย์ทุกพระองค์ กองทัพอยุธยายกทัพมาตีเมืองทวาย อันเป็นเมืองชายแดนของประเทศพม่า

ศึกเมืองเชียงกรานเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช สงครามครั้งนี้เป็นความไม่ตั้งใจของทหารพม่าที่รุกล้ำเข้ามาในชายแดนฝั่ง ประเทศไทย ทหารมอญไม่ไว้วางใจพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ว่าจะเมตตาให้ทำงานดังเดิมจริง พวกเขาได้หนีลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้เรื่อย ๆ และทหารพม่าก็ไล่ตามมาเรื่อย ๆ เมื่ออิเฎลพูดถึงการตามจับทหารให้ไปประจำการดังเดิมนั้น แสดงให้เห็นว่าทั้งมอญและพม่าเดินทางด้วยความเร็ว มิใช่การเคลื่อนขบวนทัพไปรพกับเมืองใดเมืองหนึ่ง ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ทหารพม่าจะขนปืนใหญ่มาด้วย กองทัพพม่าแตกพ่ายไปเมื่อสมเด็จพระไชยราชาผู้กล้าหาญเดินทางมาคุมทัพถึงชาย แดนด้วยพระองค์เอง ในภาพยนต์เรื่องศรีสุริโยทัยมีข้อขัดแย้งกับการวิเคราะห์ของสวอิเฎล เพราะศึกเมืองเชียงกรานตอนต้นของเรื่อง แสดงให้เห็นว่าทหารฝ่ายพม่าขนปืนใหญ่มามากมาย

ส่วนศึกเมืองทวายที่อิเฎลคาดว่าคนไทยหลายคนคงไม่เคยได้ยิน หรือถ้าได้ยินก็คงไม่เชื่อว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น แน่นอนที่เราคนไทยร้องเพลงชาติว่า "คนไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด" แต่นั่นมิได้หมายถึงคนไทยทุกคน ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน กษัตริย์ไทยบางพระองค์มีความจำเป็นต้องยกทัพไปตีหัวเมืองทางเหนือ และเมืองโดยรอบ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ หรือจนกระทั่งความเป็นอยู่ของประชาชน

ลักษณะของการยกทัพมาตีเมืองทวายของกองทัพไทยในต้นรัชกาลของพระมหา จักรพรรดิ อาจเป็นการประกาศแสงยานุภาพให้เมืองประเทศราชอื่น ๆ ไม่คิดกบฏ เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนกับที่อิเฎลอธิบายไว้ว่ากษัตริย์หลาย พระองค์นิยมทำกัน กองทัพอยุธยายึดเอาเมืองทวายไว้ ในขณะที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ยังทำศึกกับเมืองยะไข่ ซึ่งถ้าเป็นใคร ใครก็โกรธ เพราะการกระทำเช่นนี้เรียกว่าการตีท้ายครัว เหมือนกับเหตุการณ์ที่สมเด็จพระนเรศวรมีศึกกับหงสาวดี และเขมร (อาจเรียก ขอม) ยกทัพมาตีท้ายครัว ตะเบงชะเวตี้เลือกที่จะเจารจาหย่าศึกกับยะไข่ เพื่อนำกองทัพมารักษาดินแดนของตน อิเฎลดูระยะทางและสภาพภูมิประเทสตามแผนที่ เมืองยะไข่และเมืองทวายไกลกันอย่างมาก ต้องข้ามเทือกเขาอาระกันโยมา และเปกูโยมา (อาจเรียก พะโคโยมา) และข้ามแม่น้ำอีกไม่รู้กี่สาย ดังนั้นถ้าเรื่องทวายมิใช้เรื่องสำคัญจริง ๆ ตะเบงชะเวตี้คงไม่คิดเดินทางเสียเที่ยวกลับลงทางใต้

ตะเบงชะเวตี้สามารถรักษาเมืองทวายไว้ และยื่นสารขอสงบศึกกับอาราจักรอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองถัดไปทางตะวันออก ตะเบงชะเวตี้ขอให้พระมหาจักรพรรดิส่งช้างเผือกให้ 1 เชือก แต่พระมหาจักรพรรดิไม่ยอมส่งให้ ผลลัพธ์จากศึกเมืองทวาย คือต้นเหตุการสิ้นพระชนต์ของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย

อิเฎลเชื่อว่าทั้ง ศึกเมืองเชียงกราน และศึกเมืองทวายเป็นเรื่องจริง ทุกอย่างในพงศาวดารของทั้งสองประเทศมีมูลความจริง แต่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละฝ่ายจะเขียนมันในลักษณะใด
Prove that Both Chiang Kran and Tavoy wars were real.
© 2011 - 2024 Sw-Eden
Comments0
Join the community to add your comment. Already a deviant? Log In